วันทะเลโลก อนุรักษ์ท้องทะเล




“วันทะเลโลก”

        วันมหาสมุทรโลก ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน ของทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองและเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้คนทั้งโลกหันมาใส่ใจ ร่วมกันอนุรักษ์ท้องทะเล  วันนี้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยความร่วมมือของกลุ่มประชาคมโลก (The Earth Summit) ณ เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล 
.

ทะเลมีพื้นที่กว่า 70% ของโลก

ทะเลผลิตออกซิเจนกว่า 50 % ของทั้งหมดบนโลก
ทะเลยังเป็นแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ให้พืช สัตว์ต่างๆ มากมาย

ทะเลยังเป็นทางคมนาคม ขนส่ง


มาร่วมสร้างความใส่ใจ ความตระหนัก ปลูกฝังนวัตกรรมทางความคิดที่ดี

- การหยุดสร้างขยะทางทะเล
ด้วยการไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำ ไปเที่ยวก็ไม่ทิ้งขยะไว้

- หยุดปล่อยน้ำเสีย สารเคมี
- โรงงานมีการบำบัดน้ำเสีย
- คลองต่างๆ สร้างระบบบำบัดน้ำ
- ใช้น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก ที่ย่อยสลายไม่ทิ้งสารเคมี
- ให้ทะเลมีการพักบ้าง ไม่จับสัตว์ที่กำลังวางไข่

- อย่าจับสัตว์ทะเลหรือเก็บเปลือกหอยกลับบ้าน ปล่อยให้มันอยู่กับทะเลดีกว่า เพื่อแบ่งปันความความสวยงามให้ผู้อื่นได้พบเห็นภายหลัง

หยุดทำร้ายเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้ทุกคนร่วมมือกันใส่ใจดูแล และอนุรักษ์ท้องทะเล ให้ยังคงอุดมสมบูรณ์และสวยงามตราบจนชั่วลูกชั่วหลานสืบไปอย่างยั่งยืน


Read more >>

วันสิ่งแวดล้อมโลก



วันสิ่งแวดล้อมโลก

ทุกวันที่ 5 มิถุนายน ทุกปี จะเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก สิ่งแวดล้อมมีความสำคัญของ ซึ่งอยู่ใกล้ตัวเราทุกคน

โลกของเราเกิดวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และ รู้ทันเหตุการณ์ จึงได้มีการจัดประชุมใหญ่ระดับโลกขึ้นที่ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือจากหลากหลายชาติในด้านสิ่งแวดล้อม องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก
.
ปัญหาฝุ่น PM 2.5 อากาศเป็นพิษ อากาศแปรปรวน ร้อนก็ร้อนเกิน หนาวก็หนาวเกิน บางทีก็ทั้งร้อนทั้งหนาว และขยะพลาสติก ขยะแบบต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะ อาหารทั้งสัตว์ทั้งพืชมีการปนเปื้อน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของคนไทยแย่ลง

การป้องกันและแก้ไขปัญหาจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนในสังคม ร่วมฟื้นฟูระบบนิเวศ ทั้งภาครัฐ-เอกชนไทย ร่วมทำกิจกรรมและสร้างความตระหนักให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมกับนานาประเทศทั่วโลก 

- คนผลิตอาหารใช้การปลูกแบบอินทรีย์

- คนกินอาหารก็ไม่กินเหลือทิ้งมากเกินไป

- แยกขยะ ขยะแบบไหนเป็นแบบเปียกย่อยสลายได้ ขยะแบบไหนนำกลับไปใช้ได้

- ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกลับสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล






#วันสิ่งแวดล้อมโลก
Read more >>

กินเนื้อจากพืช


 

กินเนื้อจากพืช

เนื้อสัตว์กินแล้วใช้เวลาย่อยนาน มีตัวเลือกใหม่ เนื้อที่ทำมาจากพืช

การกินเนื้อจริงส่งผลยังไงกับโลกร้อน

เหตุผลที่ทำให้คนหันมากินเนื้อจากพืชเพิ่มมากขึ้น เพราะ
กระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ สร้างก๊าซเรือนกระจกขึ้นมามากถึง 14%
และยังใช้ทรัพยากรในการผลิตเป็นจำนวนมาก
.
แต่กลับกันการกินเนื้อจากพืช มีข้อดีต่อโลกและตัวเรา

1. สุขภาพที่ดี

2. ใช้ที่ดินน้อยกว่าการเลี้ยงสัตว์

3. ใช้น้ำน้อยกว่าการผลิตเนื้อสัตว์

4. ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า

และปั๋นก็มีตัวเลือกใหม่ อย่าง Meat Zero เนื้อจากพืช
เป็นเทรนด์อาหารของโลกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี




Read more >>

บริจาค ขยะ บรรจุภัณฑ์ที่หมดแล้ว

 บริจาค ขยะ บรรจุภัณฑ์ที่หมดแล้ว



1. กล่องนม

หลังจากสะสมกล่องนมได้เยอะพอสมควรแล้ว ให้กรีดกล่องทำความสะอาด 

นำกล่องไปหย่อนตู้บริจาคได้ที่ห้างสรรพสินค้า บิ๊ก C หลายสาขา 

หรือส่งไปรษณีย์ไปที่ 

ศูนย์รีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม 

บริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด 

30/11 หมู่ 11 ถนนบางนา-ตราด กม.23 ตำบลบางเสาธง อำเภอเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02 – 747 – 8881.


2. ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กระป๋อง

โครงการ 'แยก แลก ยิ้ม'

อีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่ ปตท. อยากเชิญชวนทุกๆ คน มาร่วมกันสร้างชุมชนแห่งรอยยิ้ม ให้เกิดขึ้นทั่วประเทศไทย

เพียงแค่คุณแยกขยะลงให้ถูกถัง  ที่ทาง ปตท. ได้จัดเตรียมไว้เพื่อแยกประเภทขยะ ณ สถานีบริการน้ำมัน ปตท. กว่า 1,400 สาขา ทั่วประเทศ



      ถังสีน้ำเงิน : สำหรับขวดแก้วและกระป๋อง
      ถังสีเขียว   : สำหรับขวดพลาสติก PET
      ถังสีส้ม       : สำหรับขยะทั่วไป เช่น เศษอาหาร เศษกระดาษ ถุงพลาสติก กล่องนม แก้วน้ำ ฯลฯ



3. โครงการต่ออายุหลอด

โครงการจากมูลนิธิพลังที่ยั่งยืนของ ปตท. เปิดรับบริจาคหลอดใช้แล้ว ไปเปลี่ยนเป็น "หมอนหลอด" ช่วยบรรเทาอาการเกิดแผลกดทับ นอกจากนี้ยังมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางใหม่เพื่อนำขยะหลอดพลาสติกกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการสร้างความตระหนักในการลด ละ เลิกใช้หลอดพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีวิธีคัดแยกง่าย ๆ 3 ขั้นตอน คือ นำหลอดที่ใช้แล้วไปล้าง จากนั้นก็ตากให้แห้งสนิท แล้วตัดหลอดให้ได้ขนาด 1 เซนติเมตร ก่อนนำไปทำความสะอาดและตากให้แห้งสนิทอีกครั้ง เพื่อใช้บรรจุเป็นไส้หมอน โดยหมอน 1 ใบ จุปริมาณได้ 14.5 ถ้วยตวงหรือ หลอด 2,000 ชิ้น ต่อหมอน 1 ใบ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • ที่อยู่ : มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน เลขที่ 555 หมู่ที่ 1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
  • โทรศัพท์ : 02-537-3308
  • เว็บไซต์ : www.psffoundation.com
  • เฟซบุ๊ก : มูลนิธิพลังที่ยังยืน


4. ที่บริจาควัสดุอะลูมิเนียม

     เพื่อเปลี่ยนขยะให้เป็น : ขาเทียมพระราชทาน, อุปกรณ์ค้ำยัน ช่วยเหลือคนพิการ

     วิธีทำ : นำห่วงฝากระป๋องน้ำอัดลม หรือวัสดุอะลูมิเนียมอื่น ๆ มาทำความสะอาดและทำให้แห้งสนิทก่อนส่งมาที่ ...

     กรมควบคุมมลพิษ (เพื่อเปลี่ยนเป็นขาเทียมพระราชทาน)
      เลขที่ 92 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
      (ส่งไปรษณีย์ไทย ฟรี โดยบรรจุน้ำหนักไม่เกินกล่องละ 5 กิโลกรัม)
      โทร. 02 298 2000

      สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล (เพื่อเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์ค้ำยัน ช่วยเหลือคนพิการ)
      เลขที่ 802/410 หมู่ที่ 12 ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130
      โทร. 02 990 0331 หรือ 081 735 2316 


5. โครงการส่งพลาสติกกลับบ้าน

โครงการจากเครือข่ายเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย (Thailand Responsible Business Network – TRBN) ประกอบด้วยองค์กรธุรกิจจากเอกชนและหน่วยงานจากภาครัฐกว่า 24 องค์กร เพื่อเป็นต้นแบบในการนำขยะพลาสติกกลับไปใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เปิดรับทั้งพลาสติกยืดและพลาสติกแข็ง เช่น ถุง กล่องใส่อาหาร ฝาขวด ขวดพาสติก รวมถึงฟิล์ม โดยทำความสะอาด  แล้วนำไปบริจาคที่จุด Drop Point ของโครงการ เช่น ห้าง เป็นต้น แล้วพลาสติกเหล่านี้ก็จะถูกส่งไปยังโรงงานรีไซเคิลพลาสติก เพื่อเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้งตามแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  

Read more >>

วัสดุก่อสร้างรักษ์โลก สร้างจากผัก

 วัสดุก่อสร้างรักษ์โลก สร้างจากผัก


อาหารมีความสำคัญกับคน เรากินเพื่อความอยู่รอด แต่เราทำอาหารแล้วกินไม่หมด วัตถุดิบที่ใช้ไม่หมด เหลือมากบ้าง น้อยบ้าง ซึ่งเมื่อนำรวมกันก็จะมีปริมาณมาก

อย่างที่เรารู้ๆ กันว่า ปริมาณขยะอาหารทั่วโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2019 พบว่า มีการสูญเสียอาหาร และ วัตถุดิบอาหารกว่า 1.3 พันล้านตัน คิดเป็น หรือ 1 ใน 3 ของอาหารที่ถูกผลิตขึ้น เพื่อการบริโภคทั่วโลก

.
เศษผักหรือผลไม้ที่เหลือจากการตัดแต่งก็เป็นหนึ่งในขยะอาหารที่ถูกทิ้งเหล่านั้น นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว จึงพัฒนาวิธีการรีไซเคิลเศษอาหารเป็นวัสดุก่อสร้างที่แข็งแรงกว่าคอนกรีต แต่ยังคงกินได้และอร่อย
.
เรียกได้ว่าเป็นอีกก้าวสำคัญของการรีไซเคิลเศษอาหาร แต่แปลกใหม่ด้วยการเก็บไว้ในรูปแบบที่ยังกินได้อีกด้วย
.
หลักการของมันไม่ต่างจากการนำขี้เลื่อยมาเป็นวัสดุก่อสร้าง แต่เปลี่ยนเป็นเศษผัก ผลไม้เท่านั้น โดยขั้นแรกจะทำให้แห้งด้วยสุญญากาศแล้วบดให้ละเอียด จากนั้นนำผงมาผสมรวมกับสาหร่ายทะเล น้ำ และเครื่องปรุงแล้วกดในแม่พิมพ์ที่อุณหภูมิสูง



วัสดุที่ได้จะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน เศษผักบางชนิดเมื่อนำมาอัดแล้ว เช่น กระหล่ำปลี มีความแข็งแรงมากกว่าคอนกรีตด้วยซ้ำ และยังจะป้องกันการเน่า เชื้อรา และแมลงได้เป็นเวลา 4 เดือน
.
ซึ่งนักวิจัยเองก็ยังไม่แน่ใจว่า วัสดุเหล่านี้จะใช้ทำอะไรได้บ้าง เพราะ มีเงื่อนไขการย่อยสลายอยู่
ที่แน่ๆ คงไม่สามารถใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถาวรที่ต้องอยู่ได้นานๆ
หรือวัสดุนี้จะเป็นเพียงบทพิสูจน์ของบ้านกินได้ในนิทานเท่านั้น

ซึ่งวัสดุก่อสร้างที่มีอายุสั้นๆ ใช้ได้ไม่กี่เดือน ถ้านำใช้งานมาประกอบฉาก อุปกรณ์ออกงานอีเว้นท์ในระยะสั้น โมเดลบ้าน สิ่งก่อสร้าง ใช้ทดสอบในการก่อสร้าง ก็ถือว่าดีเยี่ยม แถมมีกลิ่นหอมน่ากินอีกด้วย เชื่อว่าคงไม่หยุดแค่นี้แต่นี้ก็เป็นทิศทางที่ดีในการกำจัดขยะ ลดขยะที่เกิดขึ้น



Read more >>