ฝาย มีประโยชน์อย่างไร


ฝาย มีประโยชน์อย่างไร

        เราเจอปัญหาทางธรรมชาติ ทั้งอากาศร้อนขึ้นเรื่อยๆ น้ำป่าที่ไหลเข้าท่วมบ้านเรือน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการที่คนทำลายป่าไม้ 

        การที่เราจะแก้ปัญหาอากาศร้อน, น้ำท่วม  ต้องช่วยกัน ร่วมมือกัน

        1. อนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ทำแนวกันไฟ ป้องกันไฟป่า

        2. ทำฝายช่วยกักเก็บน้ำ ชะลอน้ำ  

        3. ป้องกันการกัดเซาะดินริมแม่น้ำ ด้วยการปลูกต้นไม้ที่ยึดดิน 


ฝายต้นน้ำลำธาร หรือฝายชะลอความชุ่มชื้น



  





 ฝายดักตะกอน


   



       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมในรายละเอียดว่า สำหรับ Check Dam ชนิดป้องกันไม่ให้ทราย ไหลลงไปในอ่างใหญ่จะต้องทำให้ดีและลึกเพราะทรายลงมากจะกักเก็บไว้ ถ้าน้ำตื้นทรายจะข้ามไปลงอ่างใหญ่ ถ้า Check Dam 


       สำหรับรักษาความชุ่มชื้นไม่จำเป็นต้องขุดลึกเพียงแต่กักน้ำให้ลงไปในดิน แต่แบบกักทรายนี้จะต้องทำให้ลึกและออกแบบอย่างไร ไม่ให้น้ำลงมาแล้วไล่ทรายออกไปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพิจารณาสร้างฝาย ชะลอความชุ่มชื้นขึ้น เพื่อสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ ให้ดำเนินการสำรวจทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูงที่ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝายดังกล่าว จำเป็นจะต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควรเป็นเวลานาน 2 เดือน การเก็บรักษาน้ำสำรองได้นานหลัง จากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำให้มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรงและโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่าง สม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยการจ่ายน้ำออกไปรอบ ๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้


รูปแบบของฝาย

        ตามแนวพระราชดำริในการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร  เพื่อสร้างความชุ่มชื้นดักตะกอนดินเก็บกักน้ำ  ซึ่งหากสามารถเก็บกักน้ำได้ปริมาณมากพอ  ก็สมควรที่จะกระจายน้ำออกไปรอบ ๆ  พื้นที่บริเวณฝายเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ต้นน้ำ  ดังนั้นในการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารแต่ละชนิด  จึงมีวัตถุประสงค์และความเหมาะสมของพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไปด้วย  ซึ่งรูปแบบของฝายต้นน้ำลำธาร หรือ Check  Dam ตามแนวพระราชดำริ   มี  3 รูปแบบ  คือ

               1.  ฝายต้นน้ำลำธารแบบท้องถิ่นเบื้องต้น (แบบผสมผสาน) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ฝายแม้ว” เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น  กิ่งไม้  ไม้ล้มขอนนอนไพร  ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่าง ๆ  ในลำห้วย  ซึ่ง เป็นการก่อสร้างแบบง่าย ๆ  ก่อสร้างในบริเวณตอนบนของลำห้วยหรือร่องน้ำ  ซึ่งจะสามารถดักตะกอนชะลอการไหลของน้ำ  และเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบฝายได้เป็นอย่างดี  วิธีการนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก  หรืออาจไม่มีค่าใช้จ่ายเลย  นอกจากแรงงานเท่านั้น  ซึ่งการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารแบบท้องถิ่นเบื้องต้นสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น
                             1.1  ก่อสร้างด้วยท่อนไม้ขนาบด้วยหิน 
                             1.2  ก่อสร้างด้วยท่อนไม้ขนาบด้วยถุงบรรจุดินหรือทราย 
                             1.3  ก่อสร้างด้วยคอกหมูแกนดินอัดขนาบด้วยหิน 
                             1.4  ก่อสร้างแบบเรียงด้วยหินแบบง่าย 
                             1.5  ก่อสร้างแบบคอกหมูหินทิ้ง 
                             1.6  ก่อสร้างด้วยคอกหมูถุงทรายซีเมนต์ 
                             1.7  ก่อสร้างแบบหลักคอนกรีตหินทิ้ง 
                             1.8  ก่อสร้างแบบถุงทรายซีเมนต์ 
                             1.9  ก่อสร้างแบบคันดิน 
                             1.10  ก่อสร้างแบบหลักไม้ไผ่สานขัดกันอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน





              2.  ฝายต้นน้ำลำธารแบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร (แบบกึ่งถาวร)
                        ก่อสร้างด้วยหินเรียงเป็นพนังกั้นน้ำ สร้างบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลำห้วยหรือร่องน้ำจะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้บางส่วน





             3.  ฝายต้นน้ำลำธารแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (แบบถาวร) 
                       เป็นการก่อสร้างแบบถาวรส่วนมากจะดำเนินการในบริเวณตอนปลายของลำห้วยหรือร่องห้วยจะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี





                 เลือกสร้างฝายให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่เราจะสร้าง ซึ่งจะช่วยให้เรามีน้ำใช้ตลอด และป้องกันน้ำท่วมจากป่าที่จะไหลหลากมาได้


http://www.phrae.go.th/checkdam/checkdam06.html

#ฝายดักตะกอน  #ฝาย มีประโยชน์อย่างไร

No comments:

Post a Comment