น้ำ คือ ชีวิต

น้ำ คือ ชีวิต

น้ำ คือ ชีวิต 

ชีวิตทุกชีวิตบนโลกต้องพึ่งน้ำ สองในสามของร่างกายมนุษย์และประมาณเก้าในสิบของบล็อคของมนุษย์ประกอบด้วยน้ำ ต้นไม้และพืชต้องการน้ำเพื่อความเจริญเติบโต และน้ำช่วยกำหนดวิถีทางของโลก และหมู่เกาะและทวีปด้วยหุบเขา ประมาณ 71 เปอร์เซนต์ เทียบสามในสี่ของโลกปกคลุมด้วยน้ำในมหาสมุทร ทะเลสาบ ทะเล และแม่น้ำ


น้ำและชีวิต

        เนื่องจากสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะประกอบด้วยน้ำ น้ำจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อชีวิต มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้เพียงเจ็ดถึงสิบวันโดยปราศจากน้ำ 

        ภายในหนึ่งปี เราบริโภคน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มหรือโดยรับประทานสิ่งที่มีน้ำเข้าไปประมาณหนึ่งตัน บ้านในครอบครัวสมัยใหม่ใช้น้ำหลายพันลิตรในแต่ละปี

        ส่วนประกอบของต้นไม้ประมาณหนึ่งในสาม และสามในสี่ของส่วนประกอบในต้นพืชขนาดเล็กได้แก่น้ำ พืชมีรากที่เล็กมากที่ดูดซับน้ำที่ประกอบด้วยแร่จากดิน นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า ถ้ำประมาณ 1,000 กิโลกรัมมีความจำเป็นต่อการผลิตอาหารพืชหนึ่งกิโลกรัม


        น้ำช่วยกำหนดวิถีทางของลักษณะภูมิประเทศรอบ ๆ ตัวเราในรูปแบบต่างๆ น้ำช่วยทำให้หินเปลี่ยนแปลง ทำให้หินสึกกร่อน โดยทำให้หินแตกเป็นช่อง และทำให้หินแยกออกจากกัน น้ำที่ไหลในแม่น้ำและลำธารทำให้หุบเขาสึกกร่อนเป็นทางลึก สิ่งสะสมกลายเป็นโคลนที่ปากแม่น้ำ และทำให้น้ำท่วมที่ราบ น้ำใต้ดินละลายแร่และพัดพามันไป แผ่นน้ำแข็งทำให้ภูเขาเรียบและสึกกร่อน และทำให้เกิดการทับถมของเศษหิน และทรายในบางแห่งทะเลเซาะชายฝั่งและทำให้ทรายละลายลงในแม่น้ำ


เราต้องพึ่งพาอาศัยน้ำ  ดังนั้นเราควรดูแล แหล่งน้ำ ต้นกำเนิดน้ำ  ไม่ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำลำธาร  เพื่อให้มีน้ำกินน้ำใช้ อย่างยั่งยืน





น้ำ แม่น้ำ และมหาสมุทร
ชาญชัย อาจินสมาจาร
Read more >>

ฝาย มีประโยชน์อย่างไร


ฝาย มีประโยชน์อย่างไร

        เราเจอปัญหาทางธรรมชาติ ทั้งอากาศร้อนขึ้นเรื่อยๆ น้ำป่าที่ไหลเข้าท่วมบ้านเรือน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการที่คนทำลายป่าไม้ 

        การที่เราจะแก้ปัญหาอากาศร้อน, น้ำท่วม  ต้องช่วยกัน ร่วมมือกัน

        1. อนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ทำแนวกันไฟ ป้องกันไฟป่า

        2. ทำฝายช่วยกักเก็บน้ำ ชะลอน้ำ  

        3. ป้องกันการกัดเซาะดินริมแม่น้ำ ด้วยการปลูกต้นไม้ที่ยึดดิน 


ฝายต้นน้ำลำธาร หรือฝายชะลอความชุ่มชื้น



  





 ฝายดักตะกอน


   



       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมในรายละเอียดว่า สำหรับ Check Dam ชนิดป้องกันไม่ให้ทราย ไหลลงไปในอ่างใหญ่จะต้องทำให้ดีและลึกเพราะทรายลงมากจะกักเก็บไว้ ถ้าน้ำตื้นทรายจะข้ามไปลงอ่างใหญ่ ถ้า Check Dam 


       สำหรับรักษาความชุ่มชื้นไม่จำเป็นต้องขุดลึกเพียงแต่กักน้ำให้ลงไปในดิน แต่แบบกักทรายนี้จะต้องทำให้ลึกและออกแบบอย่างไร ไม่ให้น้ำลงมาแล้วไล่ทรายออกไปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพิจารณาสร้างฝาย ชะลอความชุ่มชื้นขึ้น เพื่อสร้างระบบวงจรน้ำแก่ป่าไม้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ ให้ดำเนินการสำรวจทำเลสร้างฝายต้นน้ำลำธารในระดับที่สูงที่ใกล้บริเวณยอดเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลักษณะของฝายดังกล่าว จำเป็นจะต้องออกแบบใหม่ เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ปริมาณมากพอสมควรเป็นเวลานาน 2 เดือน การเก็บรักษาน้ำสำรองได้นานหลัง จากฤดูฝนผ่านไปแล้ว จะทำให้มีปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงและประคับประคองกล้าไม้พันธุ์ที่แข็งแรงและโตเร็วที่ใช้ปลูกแซมในป่าแห้งแล้งอย่าง สม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยการจ่ายน้ำออกไปรอบ ๆ ตัวฝายจนสามารถตั้งตัวได้


รูปแบบของฝาย

        ตามแนวพระราชดำริในการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธาร  เพื่อสร้างความชุ่มชื้นดักตะกอนดินเก็บกักน้ำ  ซึ่งหากสามารถเก็บกักน้ำได้ปริมาณมากพอ  ก็สมควรที่จะกระจายน้ำออกไปรอบ ๆ  พื้นที่บริเวณฝายเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ต้นน้ำ  ดังนั้นในการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารแต่ละชนิด  จึงมีวัตถุประสงค์และความเหมาะสมของพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไปด้วย  ซึ่งรูปแบบของฝายต้นน้ำลำธาร หรือ Check  Dam ตามแนวพระราชดำริ   มี  3 รูปแบบ  คือ

               1.  ฝายต้นน้ำลำธารแบบท้องถิ่นเบื้องต้น (แบบผสมผสาน) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ฝายแม้ว” เป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น  กิ่งไม้  ไม้ล้มขอนนอนไพร  ขนาบด้วยก้อนหินขนาดต่าง ๆ  ในลำห้วย  ซึ่ง เป็นการก่อสร้างแบบง่าย ๆ  ก่อสร้างในบริเวณตอนบนของลำห้วยหรือร่องน้ำ  ซึ่งจะสามารถดักตะกอนชะลอการไหลของน้ำ  และเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบฝายได้เป็นอย่างดี  วิธีการนี้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก  หรืออาจไม่มีค่าใช้จ่ายเลย  นอกจากแรงงานเท่านั้น  ซึ่งการก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารแบบท้องถิ่นเบื้องต้นสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น
                             1.1  ก่อสร้างด้วยท่อนไม้ขนาบด้วยหิน 
                             1.2  ก่อสร้างด้วยท่อนไม้ขนาบด้วยถุงบรรจุดินหรือทราย 
                             1.3  ก่อสร้างด้วยคอกหมูแกนดินอัดขนาบด้วยหิน 
                             1.4  ก่อสร้างแบบเรียงด้วยหินแบบง่าย 
                             1.5  ก่อสร้างแบบคอกหมูหินทิ้ง 
                             1.6  ก่อสร้างด้วยคอกหมูถุงทรายซีเมนต์ 
                             1.7  ก่อสร้างแบบหลักคอนกรีตหินทิ้ง 
                             1.8  ก่อสร้างแบบถุงทรายซีเมนต์ 
                             1.9  ก่อสร้างแบบคันดิน 
                             1.10  ก่อสร้างแบบหลักไม้ไผ่สานขัดกันอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน





              2.  ฝายต้นน้ำลำธารแบบเรียงด้วยหินค่อนข้างถาวร (แบบกึ่งถาวร)
                        ก่อสร้างด้วยหินเรียงเป็นพนังกั้นน้ำ สร้างบริเวณตอนกลางและตอนล่างของลำห้วยหรือร่องน้ำจะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในช่วงฤดูแล้งได้บางส่วน





             3.  ฝายต้นน้ำลำธารแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (แบบถาวร) 
                       เป็นการก่อสร้างแบบถาวรส่วนมากจะดำเนินการในบริเวณตอนปลายของลำห้วยหรือร่องห้วยจะสามารถดักตะกอนและเก็บกักน้ำในฤดูแล้งได้ดี





                 เลือกสร้างฝายให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ที่เราจะสร้าง ซึ่งจะช่วยให้เรามีน้ำใช้ตลอด และป้องกันน้ำท่วมจากป่าที่จะไหลหลากมาได้


http://www.phrae.go.th/checkdam/checkdam06.html

#ฝายดักตะกอน  #ฝาย มีประโยชน์อย่างไร
Read more >>

10 อันดับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลืองไฟ

เครื่องไฟฟ้าเปลืองค่าไฟ

10 อันดับเครื่องใช้ไฟฟ้า สิ้นเปลืองพลังงานสูงสุด


เดือนเมษายนที่ผ่านมา แฟนเพจหลายท่านอาจตกตะลึงกับค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นกว่าเดิม ทั้งๆ ที่ใช้ไฟไม่ต่างไปจากเดิม ความคิดส่วนที่ว่าใช้ไฟไม่ต่างไปจากเดิมนั้นอาจไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะอุปกรณ์บางอย่าง ต้องใช้พลังงานมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิอากาศมีความร้อนสูงขึ้น เช่น เครื่องปรับอากาศ หากอากาศภายนอกมีความร้อนสูง แม้จะปรับอุณหภูมิแอร์เท่าเดิมจากเดือนก่อนๆ แต่ช่วงหน้าร้อนกว่าแอร์จะสามารถทำความเย็นตามกำหนดได้นั้น ต้องใช้พลังงานมากขึ้นกว่าเดิม หากจะให้คิดกันง่ายๆ อาทิเช่น เดือนกุมภาพันธ์ อากาศเย็น อุณหภูมิเฉลี่ย 30 องศา ต้องการเปิดแอร์ 27 องศา แอร์ที่บ้านทำความเย็นลดลงมาเพียง 3 องศาเท่านั้น แต่หากเดือนเมษา พฤษภาคม อุณหภูมิห้องปรับขึ้น 34 องศา ต้องการเปิดแอร์ 27 องศา ความต่างของอุณหภูมิมากถึง 7 องศา การทำงานย่อมหนักกว่าเดิมมาก ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้ค่าไฟช่วงฤดูร้อนสูงขึ้นตามนั่นเองครับ

ไม่เพียงเท่านี้ เดือนพฤษภาคม 2557 ค่าไฟยังปรับขึ้น เป็น หน่วยละ 3.96 บาท (กฟผ. รับภาระไว้เหลือ 3.94) หากอุณหภูมิของอากาศไม่ลดลง เดือนนี้หากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าตามปกติ ค่าไฟย่อมสูงกว่าเมษายนอย่างแน่นอนครับ สำหรับวันนี้ “บ้านไอเดีย” จึงขอนำความรู้เล็กๆ น้อยๆ กับ 10 อันดับ การสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า โดยสื่อผ่านภาพ infographic ออกแบบโดยกระทรวงพลังงาน แต่ทั้งนี้ภาพ infographic ดังกล่าว เป็นของปี 2554 ทีมงานบ้านไอเดีย จึงแก้ไขตัวเลขของการคำนวณค่าไฟฟ้า ให้อัพเดทเท่ากับของปัจจุบันครับ มาดูกันว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าใด กินไฟมากที่สุด

เครื่องใช้ไฟฟ้า เปลืองไฟมากที่สุด

* การคำนวณค่าสิ้นเปลืองดังกล่าวนี้ คิดคำนวณตามอัตราค่าไฟฟ้า หน่วยละ 3.96 บาท (พฤษภาคม 2557) โดยคำนวณตามค่าเฉลี่ยชั่วโมงการใช้งานต่อวัน ซึ่งแต่ละท่านอาจมีการใช้งานที่แตกต่างกัน อันดับอาจไม่ได้เป็นดั่งข้อมูลนี้เสมอไป



ทั้งนี้ ไม่ว่าค่าไฟจะหน่วยละเท่าไหร่ ถูกลง หรือแพงขึ้น สิ่งที่จำเป็นที่ทุกบ้านต้องมี คือ จิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ใช้เท่าที่จำเป็นอย่างประหยัดกันนะครับ พลังงานมีอย่างจำกัด ช่วยกันประหยัดอย่างจริงจัง สบายกระเป๋าอย่างแน่นอนครับ อ่านข้อมูลเกี่ยวกับการประหยัดไฟเพิ่มเติมได้ด้านล่างนี้เลยครับ


http://www.banidea.com/electric-appliance-energy-charge/
Read more >>

รับมือแผ่นดินไหว

ภัยแผ่นดินไหว ไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ และไม่สามารถแจ้งเตือนภัยได้ทันที หากเราได้ทราบถึงความอันตรายของแผ่นดินไหวแล้ว เราควรมีการวางแผน และเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับชีวิตของเราจากแผ่นดินไหว นอกจากนี้ การปรับปรุงที่พักอาศัยของท่าน ก็เป็นเรื่องสำคัญ เช่น การยึดชั้นวางอย่างแน่นหนา ให้มั่นคงแข็งแรง รวมไปถึงไฟบนเพดาน ให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรง ไม่ร่วงหล่นมาง่าย สิ่งเหล่านี้เป็นการลดผลกระทบความอันตรายที่เกิดจากแผ่นดินไหว





5 วิธีในการเตรียมตัวรับมือแผ่นดินไหว

1. ตรวจสอบความปลอดภัยในที่พักอาศัย

-  ยึดชั้นวางสิ่งของกับผนังให้แน่นหนา และปลอดภัย

-  วางสิ่งของที่มีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากไว้ชั้นล่างหรือบนพื้น

-  วัสดุที่แตกง่าย เช่น แก้ว กระเบื้อง เซรามิก ควรเก็บไว้ในระดับต่ำ หรือในลิ้นชักที่ปิดสนิท และล็อกอย่างแน่นหนา

-  สิ่งของที่มีน้ำหนักมาก เช่น กรอบรูป และกระจก ควรไว้ให้ห่างจากเตียงนอน และเก้าอี้พักพิง

-  ตรวจสอบ และยึดไฟเพดานให้แข็งแรง

-  ตรวจสอบและซ่อมสายไฟที่ชำรุด เนื่องจากอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ขณะเกิดแผ่นดินไหว

-  ตรวจสอบและซ่อมรอยแตกของผนัง และเพดานให้แข็งแรง โดยขอคำแนะนำจากวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญด้านโครงสร้าง

-  ควรเก็บสารเคมีอันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง  วัตถุไวไฟ ไว้ในลิ้นชักชั้นล่างอย่างมิดชิด และล็อกอย่างแน่นหนา


2. กำหนดสถานที่ปลอดภัยทั้งในและนอกที่พักอาศัย

-  เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่น ใต้โต๊ะที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง

-  ในที่พักอาศัย ให้อยู่ห่างจาก ของมีคม วัสดุที่แตกหักง่าย เช่น แก้วน้ำ หน้าต่าง กระจก กรอบรูป หรือ เฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ในขณะแผ่นดินไหว

-  นอกที่พักอาศัย ให้อยู่ห่างจาก สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ต้นไม้  สายโทรศัพท์และสายไฟฟ้า รวมไปถึงทางยกระดับ สะพาน เป็นต้น

3. ให้ความรู้กับตนเองและสมาชิกในครอบครัว

-  ศึกษาหาความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหว และการเตรียมพร้อมรับมือภัยแผ่นดินไหว โดยการติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงาน อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มูลนิธิสภาพเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นต้น

-  หากสมาชิกในครอบครัวของท่านมีเด็กเล็ก ควรให้คำแนะนำและสอนบุตรหลานของท่าน ในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน โดยทางโทรศัพท์ เช่น เบอร์โทรศัพท์ 191 , 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นอกจากนี้ ควรสอนให้รู้จักการปรับคลื่นวิทยุ FM ยกตัวอย่างเช่น จส.100 , สวภ.91 เป็นต้น

4. เตรียมเป้ฉุกเฉินไว้ให้พร้อม ยกตัวอย่างเช่น

-  ไฟฉายและแบตเตอรี่สำรอง

-  วิทยุ AM FM แบบพกพา พร้อมแบตเตอรี่สำรอง

-  ชุดปฐมพยาบาล และคู่มือปฐมพยาบาล

-  อาหารและน้ำฉุกเฉิน

-  มีดอเนกประสงค์

-  เงินสด เหรียญและธนบัตร

-  รองเท้าผ้าใบ

5. วางแผนการติดต่อสื่อสารในยามฉุกเฉิน

-  ในกรณีที่สมาชิกในครอบครัว ไม่ได้อยู่ที่เดียวกันในระหว่างแผ่นดินไหว ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะ ผู้ใหญ่ต้องไปทำงาน ส่วนเด็กต้องไปโรงเรียน ควรมีการวางแผนสถานที่นัดพบหรือสถานที่รวมตัวหลังเกิดภัยพิบัติแล้ว

-  สมาชิกในครอบครัวทุกคน ควรมี ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ของญาติ เพื่อน หรือบุคคลใกล้ชิดไว้ เพื่อสามารถติดต่อกันได้ง่าย หลังเกิดเหตุภัยพิบัติแล้ว





ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา (FEMA)

เรียบเรียง โดย Kongp@thailandsurvival.com

เนื้อหาบางช่วงบางตอน มีการดัดแปลง แก้ไข เพื่อความเหมาะสมกับประเทศไทย


http://www.thailandsurvival.com/

Read more >>