5 วิธีในการเตรียมตัวรับมือแผ่นดินไหว
1. ตรวจสอบความปลอดภัยในที่พักอาศัย
- ยึดชั้นวางสิ่งของกับผนังให้แน่นหนา และปลอดภัย
- วางสิ่งของที่มีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากไว้ชั้นล่างหรือบนพื้น
- วัสดุที่แตกง่าย เช่น แก้ว กระเบื้อง เซรามิก ควรเก็บไว้ในระดับต่ำ หรือในลิ้นชักที่ปิดสนิท และล็อกอย่างแน่นหนา
- สิ่งของที่มีน้ำหนักมาก เช่น กรอบรูป และกระจก ควรไว้ให้ห่างจากเตียงนอน และเก้าอี้พักพิง
- ตรวจสอบ และยึดไฟเพดานให้แข็งแรง
- ตรวจสอบและซ่อมสายไฟที่ชำรุด เนื่องจากอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ขณะเกิดแผ่นดินไหว
- ตรวจสอบและซ่อมรอยแตกของผนัง และเพดานให้แข็งแรง โดยขอคำแนะนำจากวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญด้านโครงสร้าง
- ควรเก็บสารเคมีอันตราย เช่น ยาฆ่าแมลง วัตถุไวไฟ ไว้ในลิ้นชักชั้นล่างอย่างมิดชิด และล็อกอย่างแน่นหนา
2. กำหนดสถานที่ปลอดภัยทั้งในและนอกที่พักอาศัย
- เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่น ใต้โต๊ะที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง
- ในที่พักอาศัย ให้อยู่ห่างจาก ของมีคม วัสดุที่แตกหักง่าย เช่น แก้วน้ำ หน้าต่าง กระจก กรอบรูป หรือ เฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ในขณะแผ่นดินไหว
- นอกที่พักอาศัย ให้อยู่ห่างจาก สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ ต้นไม้ สายโทรศัพท์และสายไฟฟ้า รวมไปถึงทางยกระดับ สะพาน เป็นต้น
3. ให้ความรู้กับตนเองและสมาชิกในครอบครัว
- ศึกษาหาความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหว และการเตรียมพร้อมรับมือภัยแผ่นดินไหว โดยการติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงาน อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มูลนิธิสภาพเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นต้น
- หากสมาชิกในครอบครัวของท่านมีเด็กเล็ก ควรให้คำแนะนำและสอนบุตรหลานของท่าน ในการแจ้งเหตุฉุกเฉิน โดยทางโทรศัพท์ เช่น เบอร์โทรศัพท์ 191 , 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นอกจากนี้ ควรสอนให้รู้จักการปรับคลื่นวิทยุ FM ยกตัวอย่างเช่น จส.100 , สวภ.91 เป็นต้น
4. เตรียมเป้ฉุกเฉินไว้ให้พร้อม ยกตัวอย่างเช่น
- ไฟฉายและแบตเตอรี่สำรอง
- วิทยุ AM FM แบบพกพา พร้อมแบตเตอรี่สำรอง
- ชุดปฐมพยาบาล และคู่มือปฐมพยาบาล
- อาหารและน้ำฉุกเฉิน
- มีดอเนกประสงค์
- เงินสด เหรียญและธนบัตร
- รองเท้าผ้าใบ
5. วางแผนการติดต่อสื่อสารในยามฉุกเฉิน
- ในกรณีที่สมาชิกในครอบครัว ไม่ได้อยู่ที่เดียวกันในระหว่างแผ่นดินไหว ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะ ผู้ใหญ่ต้องไปทำงาน ส่วนเด็กต้องไปโรงเรียน ควรมีการวางแผนสถานที่นัดพบหรือสถานที่รวมตัวหลังเกิดภัยพิบัติแล้ว
- สมาชิกในครอบครัวทุกคน ควรมี ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ของญาติ เพื่อน หรือบุคคลใกล้ชิดไว้ เพื่อสามารถติดต่อกันได้ง่าย หลังเกิดเหตุภัยพิบัติแล้ว
ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักงานจัดการเหตุฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา (FEMA)
เรียบเรียง โดย Kongp@thailandsurvival.com
เนื้อหาบางช่วงบางตอน มีการดัดแปลง แก้ไข เพื่อความเหมาะสมกับประเทศไทย
http://www.thailandsurvival.com/
No comments:
Post a Comment