เปลี่ยนขยะเป็นปุ๋ย

เปลี่ยนขยะให้เป็นดินปุ๋ย แล้วนำมาปลูกผัก ... เราช่วยโลกได้ ไม่ยากเลย


เปลี่ยนขยะให้เป็นดินปุ๋ย แล้วนำมาปลูกผัก ... เราช่วยโลกได้ ไม่ยากเลย
มีการประมาณว่าขยะกว่าครึ่งในบ้านเรือนคือขยะที่ย่อยสลายและนำมาทำเป็นปุ๋ยได้ แทนที่จะปล่อยให้งานนี้เป็นภาระของเทศบาลซึ่งส่วนใหญ่นำไปฝังกลบและเผา เปลืองทั้งพลังงานในการกำจัด การขนส่ง และยังมักทำให้เกิดกลิ่นเน่าเหม็น หมักหมมเกิดเป็นก๊าซเรือนกระจกทำให้โลกร้อน ซ่ึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลง ฝนแล้ง (อภิมหา)น้ำท่วม เราสามารถเปลี่ยนขยะให้เป็นปุ๋ย ด้วยถังหมักขยะอินทรีย์ที่ทำได้ง่ายๆ
แบบถังที่นำมาเป็นตัวอย่างในที่นี้ทำตามต้นแบบที่กรมควบคุมมลพิษเคยให้ม.เกษตรศาสตร์ศึกษา แต่ไม่ได้นำไปขยายผลต่อ ถังหมักดัดแปลงจากถังขยะปกติ ประเด็นสำคัญคือการระบายอากาศเพราะเราใช้กระบวนการหมักแบบใช้อ๊อกซิเจน อาศัยติดมุ้งลวดกันแมลงต่างๆ และเตรียมเศษใบไม้แห้งเพื่อใช้เป็นตัวดูดกลิ่น และเพิ่มธาตุคาร์บอนสำหรับปุ๋ย เพราะขยะสดจะเป็นธาตุไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ เวลาทิ้งลงไปก็ผสมกัน 1 ต่อ 1 เศษอาหารสามารถใช้ได้ทุกอย่าง รวมทั้งเนื้อสัตว์ แต่ถ้าเป็นมันมากและกลัวเรื่องกลิ่น ก็อาจจะชะน้ำสักรอบนึง ผ่านกระชอน สะเด็ดให้แห้ง ก็จะทำให้การย่อยค่อนข้างเร็วและไม่เกิดการเน่าเหม็น การหมักเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ยถ้ากระบวนการหมักสมบูรณ์ไม่ควรจะมีกลิ่นเหม็น ถ้าเหม็นแสดงว่าการระบายอากาศไม่ดีและการย่อยสลายช้าเกินไป กลิ่นปกติควรจะเป็นกลิ่นดิน หรือปุ๋ยหมักอ่อนๆ
ถังที่ทดลองใช้เป็นถังขนาด 120 ลิตร ใช้ได้สำหรับครอบครัว 4-5 คน ที่ทำกับข้าวกินเกือบทุกวัน ใช้มานานก็ยังไม่เคยเต็ม หมักประมาณสองเดือนก็สามารถเอาปุ๋ยที่มีลักษณะคล้ายดินจากด้านหน้าออกมาใช้ได้
ถังแบบนี้สะดวกดีสำหรับบ้านที่มีที่ดินไม่มาก ไม่ต้องหาที่ขุดฝัง ส่วนการทำเป็นน้ำหมักชีวภาพก็เป็นอีกทางเลือก (หมักแบบไม่ใช้อ๊อกซิเจน) แต่จากประสบการณ์ตรงปัญหาคือกลิ่นค่อนข้างรุนแรง เวลาเปิดเพื่อเติมขยะ จึงไม่ค่อยเหมาะกับการใช้งานจริงตามบ้านที่มีขยะเกิดขึ้นทุกวัน วันละหลายเวลา ถังแบบนี้สะดวกอีกอย่างตรงเราไม่ต้องนั่งพลิกกลับ เติมจากด้านบนลงไปได้เรื่อยๆ แล้วก็เอาออกปุ๋ยออกทางด้านล่าง

ปุ๋ยดินที่ได้นำมาปลูกผักงามดี และรับรองว่าคนทำจะสุขใจตรงที่ขยะของเราไม่เป็นภาระกับคนอ่ืนและไม่เป็นเพียงแค่ "ขยะ" อีกต่อไป
ดูภาพประกอบได้ในอัลบัม urban compost: do it yourself 
https://www.facebook.com/Khonanurak
#เปลี่ยนขยะเป็นปุ๋ย
Read more >>

ถ่านไฟฉาย เลือกใช้ให้เหมาะกับอุปกรณ์

—- วันนี้ไปเจอความรู้ดีๆ เกี่ยวกับเรื่องแบตเตรี่อัลคาไลน์มาครับ เลยเอามาฝากเพื่อจะได้ใช้เป็นเครื่องช่วยประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการเลือกซื้อกล้องซักตัวมาเป็นเจ้าของครับ
เคยมีคนบ่นให้ผมฟังว่า “กล้องแบบใช้ถ่าน AA ที่ซื้อมาทำไมกินแบตจัง ถ่ายไม่กี่รูปก็หมดแล้ว”
หลายคนคงเคยได้ยินคำพูดเหล่านี้มาบ้างไม่มากก็น้อย
“ใช้กล่องแบบใส่ถ่าน AA ซิดี ถ้าหมดเมื่อไหร่ ก็ไปซื้อที่ไหนใส่ก็ได้” <——- เป็นความเชื่อที่ถูกเพียง 20 % ผิด 80 %
“กล่องแบบที่ชารจ์ได้ใช้ถ่านลิเธียมย่อมใช้ได้นานกว่าถ่าน AA” <——– ไม่จริงเสมอไป
“ซื้อกล้องที่ใช้ถ่าน AA ดีกว่าเพราะราคาถูกกว่า ไว้มีตังค์ค่อยไปซื้อถ่านชาร์จมาใช้” <—— ผิด 100%
“ถ่านรูปร่างเป็น AA รุ่นไหนก็ใช้ได้กับกล้องดิจิตอล” <——- ผิดอีกเช่นกัน
**หมายเหตุ  AA และ AAA คือรหัสบอกขนาดของถ่านครับ มันคือขนาดถ่านไฟฉายขนาดเล็กนั่นเอง

ความจริงในเรื่องถ่านหรือ แบตเตอรี่แบบ AA มีอยู่ว่า…
—– ถ่าน AA นั้นเราสามารถแบ่งแยกออกมาได้หลายประเภท โดยที่มีขนาดเหมือนกัน คือ AA


1. ถ่าน AAA และ AA ชนิดธรรมดา


—– ถ่าน ชนิดนี้ทุกคนต้องเคยใช้มาก่อนแน่นอน เพราะมีใช้มานานมากแล้ว ไม่ว่าจะใส่กับวิทยุ นาฬิกา หรือของเล่น ถ่านชนิดนี้จะมีราคาถูกที่สุด แต่ทว่า !! เสียใจด้วยครับ ถ่านชนิดนี้ “ใช้ไม่ได้กับกล้องดิจิตอล” เนื่องจากกำลังไฟมีน้อยมากจนไม่พอที่จะจ่ายให้กลับระบบ ส่วนใหญ่แล้วถ้าคุณใส่ถ่านชนิดนี้เข้าไป กล้องของคุณจะเปิดไม่ติด หรือติดเพียงชั่วขณะแล้วดับ (แต่ก็ไม่ได้ทำให้เสียครับ) เพราะไฟไม่พอ ซึ่งถ่านชนิดนี้นี่เองที่ทำให้ใครต่อหลายคนต้องเดินทางไปที่ศูนย์ซ่อม เนื่องจากเขาใจว่ากล้องของตัวเองนั้นเสีย… (แย่จัง)

2. ถ่าน AAA และ AA ชนิด อัลคาไลน์ (Alkaline)
 


—– เป็น ถ่าน AA ที่ให้พลังงานนานกว่าถ่านแบบธรรมดาประมาณ 7 เท่า และเจ้าตัวนี้เองที่ทำให้คนเข้าใจผิดย่างใหญ่หลวงมานักต่อนักแล้ว ว่าน่าจะใช้กับกล้องดิจิตอลได้ แต่ความจริงคือ “ใช้กับกล้องดิจิตอลได้ แต่ใช้ได้ในระยะเวลาที่สั้นมาก” เนื่องจากกำลังของไฟของถ่านก็ยังไม่อึดพอ ที่จะทนการกินพลังงานอันมหาศาลจากกล้องดิจิตอลได้ และเวลาใช้ตัวถ่านจะร้อนมากๆ คุณอาจจะถ่ายไปได้เพียง 10-20 รูปแล้วถ่านหมดลงอย่างรวดเร็ว พร้อมกับความร้อนจนน่าตกใจของตัวถ่านที่เกิดขึ้น

3. ถ่าน AAA และ AA อัลลคาไลน์ที่ใช้กับกล้องดิจิตอล


—– ถ่านชนิดนี้ต่างหาก ที่คุณจะต้องซื้อมาใช้กับกล้องของคุณ ยามที่ถ่านของคุณหมด เนื่องจากมันจะให้พลังงานมากกว่า ถ่านอัลคาไลน์ธรรมดาประมาณ 3 -4 เท่า แต่ราคาค่าตัวของเจ้าถ่านชนิดก็สูงมิใช่น้อยนะครับ

4. ถ่าน AA ชนิด นิเกิล-เมตัลไฮไดร์ (Ni-MH)



—– เป็น ถ่านที่ผมขออนุญาตแนะนำว่าคุณ“ต้องซื้อ”มาใช้กับกล้องดิจิตอลของคุณ(ถ้ามันไม่แถมมา) ถ่านชนิดนี้มีหลากหลายค่าความจุให้เลือก โดยถ้าจะนำมาใช้กับกล้องดิจิตอลต้องเลือกที่ความจุไม่น้อยกว่า 2000 mAh (mAh เป็นหน่วยวัดค่าความจุไฟฟ้า ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งใช้ได้นาน) ซึ่งถ่านชนิดนี้จะสามารถชาร์จไฟนำมาใช้อีกได้ และถ่ายได้นาน(100 รูปขึ้นไป) แต่ก็จะมีราคาแพงพอสมควร (พันกว่าบาทขึ้นไป สำหรับมากกว่า 2000 mAh รวมที่ชาร์จ) ซึ่งโดยปกติแล้วจะสามารถชาร์จไฟนำมาใช้ได้ใหม่ประมาณ 500 ครั้ง ซึ่งถ้าคิดราคาต่ออายุการใช้งานแล้วละก็ “ถูกที่สุด” ครับ

—– อ่านมาถึงตรงนี้แล้วคงพอจะเข้าใจตรงกันแล้วว่า ถ่านแบบไหนที่ควรจะนำมาใช้กับกล้องดิจิตอล และผมจะขออนุญาตสรุปเรื่องที่หลายๆคน(รวมทั้งตัวผมด้วย) เข้าใจผิดๆ กันมาเสียนาน
  1. อย่าเชื่อ หรือมีความหวังว่าคุณจะสามารถใช้ถ่านราคา 10 กว่าบาทได้กับกล้องดิจิตอลของคุณได้ (ไม่มีรุ่นไหนยกเว้น)
  2. หากคุณคิดจะซื้อกล้องที่ใช้ถ่าน AA แล้วหวังว่าสะดวกกว่าเวลาถ่านหมดก็ไปหาถ่านเอาแถวๆนั้นได้ละก็ ให้รู้ไว้เลยว่าถ่านที่คุณจะต้องซื้อมาใช้คือ Alkaline สำหรับกล้องดิจิตอล (ถ้าซัก 10 กว่ารูป Alkaline ธรรมดาก็พอไหว) ในระดับราคาหลักร้อย (อย่าลืมละว่าถ่านแบบธรรมดาใช้ไม่ได้)
  3. เวลาคุณไปซื้อกล้องแล้วกล้องใช้ถ่าน AA โดยไม่แถมถ่านแบบที่ชาร์จได้มาให้ละก็ คุณจำเป็นที่สุดที่จะต้องซื้อถ่านชาร์จ(พร้อมแท่นชาร์จ)มาด้วย อย่าลืมเตรียมงบเผื่อไว้อีกประมาณ พันกว่าบาท
  4. เวลาเปรียบเทียบราคากล้อง หรือเตรียมเงินซื้อกล้อง อย่าลืมพิจารณาตรงนี้ด้วย ถ้ารุ่นไหนไม่แถมถ่านชาร์จ บวกไปอีกประมาณพันสองบาทได้เลย
  5. ถ่านที่แถมมากับกล้อง เค้าใส่มาให้ทดสอบว่าเปิดติด ถ่ายได้ไม่กี่รูป เท่านั้น
หวังว่าผู้อ่านคงได้ความรู้ไม่มากก็น้อยนะครับ…

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณ keng แห่งเว็บ www.etbk.sixengineer.com มาณ.โอกาสนี้

อุปกรณ์บางตัวจะมีถ่านชาร์ตมาให้ในตัว
Read more >>