ภัยธรรมชาติ

ภัยธรรมชาติ

ภัยธรรมชาติ นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ หรือมนุษย์ได้ทำให้มันเกิดขึ้นมา ภัยธรรมชาติมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปบางอย่างร้ายแรงน้อย บางอย่างร้ายแรงมากซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การเกิดอุทกภัยหรือน้ำท่วม การเกิดพายุ การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติต่างๆไม่ว่าจะร้ายแรงมากหรือน้อยก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลาโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งตัว แบ่งเป็น 8 ประเภท

วาตภัย | อุทกภัย | ทุกขภิกขภัย | พายุฝนฟ้าคะนอง | คลื่นพายุซัดฝั่ง | แผ่นดินไหว | แผ่นดินถล่ม | ไฟป่า

เดือนภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ

กุมภาพันธ์
ไฟป่า

มีนาคม
พายุฤดูร้อน , ไฟป่า , ฝนแล้ง

เมษายน
พายุฤดูร้อน , ไฟป่า , ฝนแล้ง

พฤษภาคม
พายุฤดูร้อน , อุทกภัย

มิถุนายน
อุทกภัย , ฝนทิ้งช่วง

กรกฎาคม
ฝนทิ้งช่วง , พายุฝนฟ้าคะนอง ,พายุหมุนเขตร้อน , อุทกภัย

สิงหาคม
พายุหมุนเขตร้อน , อุทกภัย , พายุฝนฟ้าคะนอง

กันยายน
พายุหมุนเขตร้อน , อุทกภัย , พายุฝนฟ้าคะนอง



วาตภัย ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก พายุลมแรง แบ่งได้ 2 ชนิด

1.1 วาตภัยจากพายุฤดูร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน เกิดจากกระแสอากาศร้อนยกขึ้นเบื้องบนอย่างรุนแรง และรวดเร็ว เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและอาจมีลูกเห็บทำความเสียหาย ได้ในบริเวณเล็กๆ ช่วงเวลาสั้นๆ ความเร็วลมประมาณ 50 กม./ชม. ทำให้สิ่งก่อสร้าง บ้านเรือน พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เป็นอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์และสัตว์ได้

สภาวะอากาศ ก่อน/ขณะ/หลัง ของพายุฤดูร้อน (ช่วง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม)
ก่อนเกิดวาตภัย
อากาศร้อนอบอ้าว ติดต่อกันหลายวัน
ลมสงบ แม้ใบไม้ก็ไม่สั่นไหว
ความชื้นในอากาศสูง จนรู้สึกเหนียวตามร่างกาย
ท้องฟ้ามัว ทัศนวิสัยการมองเห็นระยะไกลไม่ชัดเจน
เมฆมากขึ้น ท้องฟ้ามืดครึ้ม อากาศร้อนอบอ้าว
ขณะเกิดวาตภัย
พายุลมแรง 15-20 นาที ความเร็วมากกว่า 50 กม./ช.ม
เมฆทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว ลมกระโชกแรงเป็นครั้งคราว มีฝนตกหนัก บางครั้งมีลูกเห็บ ฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ถ้านับในใจ 1-2-3 แล้ว ได้ยินเสียงฟ้าร้อง และพายุจะห่างไปประมาณ 1 กม. ถ้าเห็นฟ้าแลบและฟ้าร้องพร้อมกัน พายุจะอยู่ใกล้มาก
สภาวะนี้จะอยู่ประมาณ 1 ชม.
หลังเกิดวาตภัย
พายุสลายไปแล้วอากาศจะเย็นลง รู้สึกสดชื่นขึ้น ท้องฟ้าแจ่มใส ทัศนวิสัยชัดเจน

การป้องกันพายุฤดูร้อน
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูงๆ
* ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฟ้าคะนอง
* ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ และอยู่กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง

1.2 วาตภัยจากพายุฤดูหมุนเขตร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน เป็นพายุที่เกิดขึ้นเหนือทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกในเขตร้อน มีศูนย์กลางประมาณ 200 กม. มีลมพัดเวียนรอบศูนย์กลางทิศทวนเข็มนาฬิกา ศูนย์กลางเป็นวงกลมประมาณ 15-60 กม. เรียกตาพายุ มองเห็นได้จากภาพเมฆดาวเทียม เมื่อเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามทำความเสียหายให้บริเวณที่เคลื่อนผ่าน ตามลำดับความรุนแรง

เกณฑ์การแบ่งความรุนแรงของพายุเขตร้อนเป็น 3 ระดับ  คือ
1. พายุดีเปรสชั่น มีกำลังอ่อน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 63 กม./ชม.
2. พายุดีหมุนเขตร้อน มีกำลังปานกลาง ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 63-117 กม./ชม.
3. พายุไต้ฝุ่น มีกำลังปานกลาง ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางมากกว่า 118 กม./ชม.

สภาวะอากาศ ก่อน/ขณะ/หลัง ของพายุหมุนเขตร้อน(ช่วง เดือนกรกฏาคม-กันยายน)

ก่อนเกิดวาตภัย
อากาศดี ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน
เมฆทวีขึ้นเป็นลำดับ
ฝนตกเป็นระยะๆ

ขณะเกิดวาตภัย
เมฆเต็มท้องฟ้า ฝนตกต่อเนื่องเกือบตลอดเวลา ลมพัดแน่ทิศ
ตาพายุผ่านมา ลมสงบ ท้องฟ้าแจ่มใส
เมฆเต็มท้องฟ้า ฝนตกเกือบตลอดเวลา ลมพัดกลับทิศ

หลังเกิดวาตภัย
พายุสลายไปแล้วจะทิ้งความเสียหายไว้ตามทางผ่าน อากาศดีขึ้นเป็นลำดับ

การป้องกันพายุหมุนเขตร้อน
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
* เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
* ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ

อุทกภัย ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อน ลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ แบ่งได้ 2 ชนิด

1.1 อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ดินดูดซับไม่ทัน น้ำฝนไหลลงพื้นราบอย่างรวดเร็ว ความแรงของน้ำทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน ชีวิต ทรัพย์สิน

1.2 อุทกภัยจากน้ำท่วมขังและน้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำในแม่น้ำ ลำธารล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติ ท่วมและแช่ขัง ทำให้การคมนาคมชะงัก เกิดโรคระบาด ทำลายสาธารณูปโภค และพืชผลการเกษตร

การป้องกันอุทกภัย
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
* เตรียมน้ำดื่ม เครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
* ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* เตรียมพร้อมเสมอเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพไปที่สูง เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย และฝนตกหนักต่อเนื่อง
* ไม่ลงเล่นน้ำ ไม่ขับรถผ่านน้ำหลากแม้อยู่บนถนน ถ้าอยู่ใกล้น้ำ เตรียมเรือเพื่อการคมนาคม
* หากอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ป้องกันโรคราด ระวังเรื่องน้ำและอาหาร ต้องสุก และสะอาดก่อนบริโภค
ทุกขภิกขภัย ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก ฝนแล้ง ไม่ตกตามฤดูกาล มีสาเหตุจาก พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านประเทศไทยน้อย ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังอ่อน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังอ่อน เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน หรือเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญรุนแรง ทำให้ฝนน้อยกว่าปกติ ทำให้ผลผลิตการเกษตรเสียหาย ขาดน้ำ เหี่ยวเฉา แห้งตายในที่สุด โรคพืชระบาด คุณภาพด้อยลง อุตสาหกรรมเกษตรเสียหาย ขาดแคลนอุปโภค บริโภค กระทบกับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ

สภาวะอากาศของทุกขภิกขภัย(ฝนแล้ง)
ครึ่งหลังเดือนตุลาคม-กลางพฤษภาคม สิ้นฤดูฝน -ฤดูร้อน ฝนน้อยกว่าฤดูฝน
ปลายเดือนมิถุนายน-กลาง กรกฎาคม ฝนทิ้งช่วงมากกว่า 2 สัปดาห์
การป้องกันทุกขภิกขภัย
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
พายุฝนฟ้าคะนอง ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากฝนฟ้าคะนอง และลมแรง อากาศร้อนลอยสูงขึ้น อากาศข้างเคียงไหลเข้ามาแทนที่ ไอน้ำกลั่นตัวเป็นเมฆ ทวีความสูงมากขึ้น มองเห็นคล้ายทั่งตีเหล็กสีเทาเข้ม มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง บางครั้งมีลูกเห็บ หากตกต่อเนื่องหลายชั่วโมง อาจเกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน อาจ เกิดพายุลมหมุนหรือ พายุงวงช้างมีลมแรงมาก ทำความเสียหายบริเวณที่เคลื่อนผ่าน
สภาวะอากาศก่อน/ขณะ/หลังของพายุฝนฟ้าคะนอง (ช่วง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม)
ก่อนเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
อากาศร้อนอบอ้าว
ลมสงบ หรือลมสงบ
ความชื้นในอากาศสูง จนรู้สึกเหนียวตามร่างกาย
เมฆก่อตัวเป็นรูปทั่งสีเทาเข้ม ยอดเมฆสูงกว่า 10 กม.
ขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง
ฝนตกหนักถึงหนักมาก บางครั้งมีลุกเห็บ
หลังเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
พายุสลายไปแล้วอากาศจะเย็นลง รู้สึกสดชื่นขึ้น ท้องฟ้าแจ่มใส

การป้องกันพายุฝนฟ้าคะนอง
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูงๆ
* ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฟ้าคะนอง
* ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ และอยู่กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง
คลื่นพายุซัดฝั่ง ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่เข้าหาฝั่ง ความสูงของคลื่นขึ้นกับความแรงของพายุ
แผ่นดินไหว ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานใต้พิภพ ทำให้เกิดภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินเลื่อน ถล่ม และเกิดจากมนุษย์ เช่นระเบิดนิวเคลียร์ ภาคเหนือส่วนมากจะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 3-4 ริกเตอร์ และเคยเกิดขนาดใหญ่สุดที่บันทึกได้ 5.6 ริกเตอร์ ที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก วันที่ 17 ก.พ.2518

ขนาดแผ่นดินไหว

ผลกระทบ
จำนวนครั้ง/ปี
ริกเตอร์
รัศมีและความลึกไม่เกิน 100 กม.
รอบโลก
3.5-4.2
บางคนรู้สึกสั้นสะเทือน
30000
4.3-4.8
หลายคนรู้สึกสั่นสะเทือน
4800
4.9-5.4
เกือบทุกคนรู้สึกสั่นสะเทือน
1400
5.5-6.1
อาคารเสียหายเล็กน้อย
500
6.2-6.9
อาคารเสียหายปานกลาง
100
7.0-7.3
อาคารเสียหายรุนแรง
15
ตั้งแต่ 7.4
อาคารเสียหายรุนแรง
4


ข้อควรปฏิบัติ ก่อน/ขณะ/หลัง เกิดแผ่นดินไหวอันเกิดแผ่นดินไหว
เตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาล อุปโภค บริโภค กรณีฉุกเฉิน
เตรียมพร้อม สมาชิกในครอบครัว วางแผนอพยพหากจำเป็น
ไม่วางของหนักบนชั้นสูงๆ ยึดตู้หนักไว้กับผนังห้อง
ขณะเกิดแผ่นดินไหว
อยู่ในอาคารสูง ควบคุมสติ หลบใต้โต๊ะแข็งแรง ไม่วิ่งลงกระได ลงลิฟต์
ขับรถให้หยุดรถ ควบคุมสติ อยู่ภายในรถจนการสั่นสะเทือนหยุดลง
อยู่นอกอาคาร ห่างจากอาคารสูง กำแพง เสาไฟฟ้า ไปอยู่ที่โล่งแจ้ง
หลังเกิดแผ่นดินไหว
ออกจากอาคารสูง รถยนต์ สำรวจผู้ประสบภัย ตรวจสอบความเสียหาย
ปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บ ส่งแพทย์หากเจ็บหนัก
ยกสะพานไฟ อยู่ห่างจากสายไฟที่ไม่อยู่กับที่ ซ่อมแซมสิ่งที่สึกหรอทันที
แผ่นดินถล่ม การเกิดดินถล่ม เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ป้องกันได้ยากแต่เราก็สามารถลดปัจจัยความเสี่ยงได้ ถ้าเรามีการเตรียมพร้อมเฝ้าระวังที่ดีแล้ว จะลดความเสียหายได้แน่นอน

การสังเกตก่อนเกิดดินถล่ม
- น้ำในลำห้วยขุ่นมาก หรือมีสีแดงขุ่นแสดงว่าจะมีตะกอนไหลมาตามลาดเขา
- เวลาฝนตกนาน ๆ จะมีเสียงดังเหมือนตอนมีน้ำป่ามา ต้นไม้ล้มหรือก้อนหินกลิ้งดังครืน ๆ ถ้ามีเสียงนั้นจริง ๆ แสดงว่าดินจะถล่มลงมา
- บ้านที่อยู่ในที่ราบเชิงเขาอาจจะเกิดดินถล่มจากภูเขาลงมาทำความเสียหายแก่บ้านเรือนได้
สาเหตุการเกิดดินถล่ม
- ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันหรือดินบนลาดเขาเป็นดินร่วนและมีความลาดชัน มาก ๆ
- การทำไร่เลื่อนลอยบนภูเขา ทำให้สภาพดินต้องไป เมื่อฝนตกหนักนาน ๆ ดินบนภูเขานั้นอิ่มน้ำและไถลลงมาตามลาดเขานำเอาตะกอนดิน, ก้อนหิน, ซากไม้ล้มลง มาด้วย

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดดินถล่ม
- ถ้าฝนตกหนักแบบไม่หยุดติดต่อกันหลายวัน ดินบนภูเขาอาจถล่ม ต้องเฝ้าระวังกันให้ดี โดยให้อพยพ หรือให้หนีไปที่สูง ๆ และต้องรีบแจ้งต่อ ๆ ให้รู้ทั่วกันโดยเร็ว
- ถ้าพลัดตกไปในกระแสน้ำห้ามว่ายน้ำหนีเป็นอันขาด เพราะจะโดนซากต้นไม้ ก้อนหินที่ไหลมากับโคลนกระแทกจนถึงตายได้
- ให้หาต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้ที่สุดเกาะเอาไว้แล้วปีนหนีน้ำให้ได้

ข้อควรปฏิบัติหลังน้ำลด
- อย่าปลูกบ้านหรือสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำหรือใกล้ลำห้วยมากเกินไป
- ช่วยกันร่วมมือร่วมแรงอย่าตัดไม้ทำลายป่า
- ปลูกต้นไม้เพิ่มไว้ช่วยซับน้ำ
- ช่วยกันปลูกป่าบริเวณที่ถูกทำลายและป้องกันไม่ให้ตัดไม้ทำลายป่าซึ่งทุก ๆ คนต้องมีส่วนร่วมในการดูแลและเฝ้าระวัง
- จัดเวรยามเพื่อเดินตรวจตาดูสถานการณ์รอบ ๆ หมู่บ้านเมื่อมีสิ่งผิดปกติยามค่ำคืน
- ติดตามฟังข่าวพยากรณ์อากาศ เพื่อทราบสภาพสถานีการณ์ของภาวะฝนตกหนักหรือน้ำป่าไหลหลาก
ไฟป่า ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากมนุษย์เป็นส่วนมาก ได้แก่การเผาหาของป่า เผาทำไร่เลื่อนลอย เผากำจัดวัชพืช ส่วนน้อยที่เกิดจากการเสียดสีของต้นไม้แห้ง ปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นพฤษภาคม ทำให้เกิดมลพิษในอากาศมากขึ้น ผงฝุ่น ควันไฟกระจายในอากาศทั่วไป ไม่สามารถลอยขึ้นเบื้องบนได้ มองเห็นไม่จัดเจน สุขภาพเสื่อม พืชผลการเกษตรด้อยคุณภาพ แหล่งทรัพยากรลดลง

การป้องกันไฟป่า
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ดับไฟ บุหรี่ ธูป เทียน กองไฟให้ความอบอุ่น ทุกครั้ง ในบ้านหรือกลางแจ้ง
* ตัดแต่งกิ่งไม้ ให้ห่างจากเสาไฟฟ้า หมั่นตรวจสอบคุณภาพอุปกรณ์ฟ้า
* ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงฉุกเฉินประจำอาคาร
* เก็บวัสดุ อุปกรณ์ไวไฟ สารเคมี ให้อยู่ในที่ปลอดภัย
* ซักซ้อม วางแผนหนีไฟ และเตรียมพร้อมเสมอ

ที่มา
http://www.cmmet.tmd.go.th/met/natural_danger.php

No comments:

Post a Comment