‘ไฮโดรเจน’ พลังงานสะอาดแห่งอนาคต

 ‘ไฮโดรเจน’ พลังงานสะอาดแห่งอนาคต


‘ไฮโดรเจน’ เป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือก ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


มาทำความรู้จักกับ ‘ไฮโดรเจน’ พลังงานสะอาดแห่งอนาคต ที่จะช่วยโลกมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำกันครับ

.
ไฮโดรเจน (H2) คือ ธาตุชนิดหนึ่งที่พบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งอยู่ในสถานะของก๊าซ ไม่มีกลิ่นและสี มักจะรวมอยู่ในวัตถุหรือสารประกอบต่าง ๆ เช่น น้ำ (H2O) และในแหล่งเชื้อเพลิงที่ใช้ในปัจจุบันเช่น ถ่านหิน ก๊าซมีเทน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียม หรือชีวมวลต่าง ๆ อีกด้วย
.
ด้วยเหตุนี้ จึงมีการสกัดไฮโดรเจนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ก๊าซธรรมชาติ และน้ำด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัย จากนั้นนำไฮโดรเจนที่ได้มาป้อนเข้าเซลล์เชื้อเพลิง (SOFC) หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วมกับเชื้อเพลิงต่าง ๆ (Co-firing) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งให้ค่าพลังงานสูงถึง 120 MJ/Kg (เมกะจูลต่อกิโลกรัม) โดยมากกว่าเชื้อเพลิงทั่วไปประมาณ 2-4 เท่าเลยทีเดียว
.
⚡️ ไฮโดรเจนมีทั้งหมด 4 ประเภท จำแนกตามกระบวนการผลิต ซึ่งแต่ละประเภทจะปล่อยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์แตกต่างกัน ดังนี้

1. Brown Hydrogen : ไฮโดรเจนสีน้ำตาล เกิดจากฟอสซิลหรือถ่านหินด้วยวิธี Gasification ซึ่งจะได้สารผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นไฮโดรเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ

2. Grey Hydrogen : ไฮโดรเจนสีเทา ผลิตมาจากก๊าซธรรมชาติและเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการอุตสาหกรรม ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเช่นกัน

3. Blue Hydrogen : ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน เป็นการผลิตแบบเดียวกับสีน้ำตาลและสีเทา คือผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือก๊าซธรรมชาติ แต่จะมีการดักจับและจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ (Carbon Capture and Storage) ทำให้ไฮโดรเจนที่ได้สะอาดกว่าไฮโดรเจนสีน้ำตาลและสีเทา

4. Green Hydrogen : ไฮโดรเจนสีเขียว เป็นการใช้ไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียน นำมาแยกโมเลกุลน้ำ (Electrolysis of Water) ทำให้ได้สารผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน โดยปราศจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นั่นเองครับ
.
🍃 เห็นได้ชัดว่า ไฮโดรเจนสีเขียวนั้นช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างแท้จริง ถึงแม้ในตอนนี้ ต้นทุนในการผลิตไฮโดรเจนยังค่อนข้างสูง แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน คาดการณ์ได้ว่าต้นทุนในการผลิตอาจจะลดลงได้ถึง 60-70% ในปี 2030
.
ด้วยมองเห็นศักยภาพของไฮโดรเจนที่จะกลายเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลักดันโลกสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เอ็กโก กรุ๊ป จึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรและ กฟผ. ในการศึกษาและพัฒนาการผลิตไฟฟ้าด้วยไฮโดรเจนจากเทคโนโลยีเชื้อเพลิงชนิดออกไซด์แบบแข็ง (SOFC) และเทคโนโลยีแยกน้ำด้วยไฟฟ้า (SOEC) เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไฟฟ้าและพลังงานสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างมั่นคงและยั่งยืนครับ


ที่มา : https://bit.ly/3xmV9Qy
Read more >>

กล้วยมีประโยชน์ ต่างประเทศก็นำมาใช้





กล้วยมีประโยชน์ ต่างประเทศก็นำมาใช้

ผลิตภัณฑ์ที่สร้างจากธรรมชาติ ใช้ทรัพยากรน้อย

QWSTION แบรนด์สินค้าแฟชั่นของสวิตเซอร์แลนด์ ร่วมกับ ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นใยผ้าในประเทศใต้หวัน นำเอากล้วยมาทำเป็นแฟชั่นสุดหรูขายทั่วยุโรป เพราะกล้วยสามารถโตได้ในป่าพร้อมต้นไม้อื่น ทั้งเก็บเกี่ยวได้ไม่ต้องโค่นทั้งต้น และยังดีกว่าฝ้ายที่ใช้น้ำจำนวนมากในการเพาะปลูก

เมื่อบริษัทแฟชั่นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ร่วมกับ ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นใยผ้าในประเทศใต้หวัน นำเอากล้วยซึ่งเป็นพืชพื้นถิ่นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรา มาทำเป็นแฟชั่นสุดหรูขายทั่วยุโรป


ไอเดียเริ่มขึ้นจาก QWSTION แบรนด์สินค้าแฟชั่นของสวิตเซอร์แลนด์ ต้องการที่จะผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน จึงปรึกษากับ supplier ของตนประเทศไต้หวัน และเห็นว่า ต้นกล้วยนี่แหละที่ตอบโจทย์หลายๆ อย่าง

เพราะกล้วยเป็นพืชที่ขึ้นได้ง่าย พบเจอได้ทั่วไป และเป็นการสนับสนุนเกษตรกรในประเทศฟิลิปปินส์ ในการปลูกกล้วยเพื่อฟื้นฟูป่า ที่โดนรุกล้ำจาการปลูกสวนปาล์มน้ำมันที่เป็นปัญหา เพราะกล้วยสามารถโตได้ในป่าพร้อมต้นไม้อื่น ไม่ต้องปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยว อีกทั้งการเก็บเกี่ยวก็ไม่จำเป็นจะต้องโค้นทั้งต้น และยังดีกว่าฝ้ายที่ใช้น้ำจำนวนมากในการเพาะปลูก

ขั้นตอนการผลิตผ้าจากใยกล้วยจะยุ่งยากเล็กน้อย เพราะจะต้องทำแผ่นกระดาษจากใยกล้วยก่อน แล้วจะตัดให้เป็นเส้นเล็กๆ พันให้เป็นเกลียว จึงนำไปถักทอได้ หลังจากการทอเป็นผ้าก็จะมีการเคลือบด้วยขี้ผึ้งธรรมชาติเพื่อกันน้ำอีกครั้งนึง


สิ่งดีดีๆ ที่เกิดขึ้น เพื่่อช่วยให้โลกน่าอยู่


ภาพโดย PublicDomainPictures จาก Pixabay


ใครสนใจอยากสนับสนุนเข้าไปดูได้ที่







อ้างอิง
Read more >>

สายนาฬิกาหนังเห็ด

สายนาฬิกาหนังเห็ด


 = สายนาฬิกาหนังเห็ด อนาคตที่ยั่งยืนของหนังเทียม =

อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มาช่วยโลก
ในบรรดาวัสดุจากธรรมชาติทั้งหลาย หนังสัตว์คงเป็นวัสดุที่ทำร้ายโลกมากที่สุด
เพราะกว่าจะได้หนังสัตว์มาสักผืน และเปลี่ยนเป็นสินค้าแฟชั่นสักชิ้น
จะต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก และปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกมหาศาล
ยังไม่รวมกระบวนการ ย้อมสีที่เต็มไปด้วยสารเคมีอันตราย
.
แม้การใช้หนังเทียมสามารถมาทดแทนหนังแท้ได้ แต่หนังเทียมก็ทำมาจากพลาสติกซึ่งมีอายุการใช้งานต่ำ แถมยังก่อนให้เกิดมลพิษและไมโครพลาสติกอีก
.
แต่ในที่สุดอนาคตของหนังก็มีน่าจะมีทางออกที่ยั่งยืนกว่า
เมื่อมีการนำใยเห็ดหรือ mycelium มาผลิตเป็นหนังเทียม
โดยใยเห็ดนี้เป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ผลิตถั่วเทมเป้ซึ่งกำลังเป็นที่นิยม
.
คุณสมบัติที่สำคัญมากๆ ของ mycelium
คือมันเหนียวมาก และ สามารถย้อมติดสีธรรมชาติได้ง่ายมาก
รวมถึงมีผิวสัมผัสเหมือนหนังจริงๆ
.
ที่ประเทศอินโดนีเซียมีบริษัทชื่อ mycotech ที่ผลิตหนังเทียมนี้ขึ้นมาขายจริงจังโดยมีโปรเจคร่วมกับ Pala บริษัทผลิตนาฬิกาจากไม้ กลายเป็นนาฬิกาสุดเก๋ที่ทำมาจากธรรมชาติเกือบทั้งหมด และเริ่มระดมทุนใน kickstarter
.
นอกจากนี้ยังสามารถนำไปผลิต ผนังกันเสียง เครื่องหนัง และรองเท้าได้อีกด้วย
.
ถ้าวันนึงเนื้อสัตว์จะถูกแทนที่ด้วยพืชหรือเนื้อปลูก หนังสัตว์ก็จะถูกแทนที่ด้วยใยเห็ดเช่นกัน



อ้างอิง :


Read more >>